(Integrity & Transparency Assessment: ITA)
ตอบ : สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ได้พัฒนาเครื่องมือการประเมินเชิงบวกเพื่อเป็นมาตรการป้องกันการทุจริต และเป็นกลไกในการสร้างความตระหนักให้หน่วยงานภาครัฐมีการดำเนินงานอย่างโปร่งใสและมีคุณธรรม โดยใช้ชื่อว่า “การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) เริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน และมีการขยายขอบเขตและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561 เห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือและเข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2564 โดยใช้แนวทางและเครื่องมือการประเมินตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด
ความสำคัญของการประเมิน ITA ทำให้แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 21 การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. 2561 – 2580) ได้นำผลการประเมิน ITA ไปกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของแผนแม่บทฯ โดยในระยะแรก (พ.ศ. 2561 – 2565) กำหนดค่าเป้าหมายให้หน่วยงานภาครัฐที่มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ (85 คะแนนขึ้นไป) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ตอบ : การขับเคลื่อนการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นการทำงานร่วมกันของหน่วยงานร่วมกำกับติดตามทั้ง 5 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานป้องกันและปรามปรามทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม การประเมินปี 2566 ยังคงดำเนินการประเมินผ่านระบบออนไลน์ โดยปีนี้เป็นปีสุดท้ายของช่วงระยะที่ 1 (พ.ศ. 2561 – 2565) ของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ กำหนดกรอบแนวทางในการดำเนินงานที่เชื่อมโยงและต่อเนื่องจากการประเมินในปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังคำนึงถึงการเก็บข้อมูลอย่างรอบด้านและหลากหลายมิติ มีหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 8,323 แห่งทั่วประเทศ เข้าร่วมการประเมิน ครอบคลุมหน่วยงานภาครัฐทั้งในฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ และองค์กรอิสระ เป็นการประเมินด้านธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการภาครัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศในปัจจุบัน
วิธีการประเมินและเครื่องมือในการประเมิน จะประกอบไปด้วย 3 เครื่องมือเพื่อเก็บข้อมูลจากแต่ละแหล่งข้อมูล ดังนี้
1) แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment: IIT)เป็นแบบวัดที่ให้ผู้ตอบเลือกตัวเลือกคำตอบตามการรับรู้ของตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน เป็นการประเมินระดับการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในที่มีต่อหน่วยงานตนเอง เปิดโอกาสให้บุคลากรของหน่วยงานทุกระดับที่ปฏิบัติงานมาไม่น้อยกว่า 1 ปี ได้มีโอกาสสะท้อนและแสดงความคิดเห็นต่อคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานตนเอง ใน 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดการปฏิบัติหน้าที่ ตัวชี้วัดการใช้งบประมาณ ตัวชี้วัดการใช้อำนาจ ตัวชี้วัดการใช้ทรัพย์สินของราชการ และ ตัวชี้วัดการแก้ไขปัญหาการทุจริต (ปี 2566 เก็บตัวอย่างผู้ตอบแบบประเมิน ร้อยละ 10 ของบุคลากรทั้งหมด) ในปีนี้หน่วยงานนำช่องทางการเข้าตอบแบบวัด IIT และ Code ของหน่วยงานเผยแพร่ บุคลากรภายในของหน่วยงานเข้าตอบแบบวัดจะต้องยืนยันตัวตนด้วยการระบุ Code ของหน่วยงานให้ถูกต้อง จึงจะสามารถเข้าตอบได้
2) แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment: EIT) เป็นแบบวัดที่เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการหรือผู้ติดต่อหน่วยงานในช่วงปีงบประมาณ 2566 (นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้ใช้บริการงานวิจัย บริการวิชาการ) ได้มีโอกาสสะท้อนและแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน ผู้ตอบเลือกตัวเลือกคำตอบตามการรับรู้ของตนเอง เพื่อเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก โดยเป็นการประเมินระดับการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกที่มีต่อหน่วยงานที่ประเมิน ใน 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดคุณภาพการดำเนินงาน ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการสื่อสาร และตัวชี้วัดการปรับปรุงระบบการทำงาน (กรณีหน่วยงานมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกจำนวนมากกว่า 4,000 คน เก็บตัวอย่างไม่น้อยกว่า 400 คน)
3) แบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment: OIT)เป็นการตรวจสอบระดับการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานที่เผยแพร่ไว้ทางหน้าเว็บไซต์หลักของหน่วยงาน เป็นแบบวัดที่ให้ผู้ตอบเลือกตอบมีหรือไม่มีการเปิดเผยข้อมูล พร้อมทั้งระบุ URL เพื่อเชื่อมโยงไปสู่แหล่งที่อยู่ของการเปิดเผยข้อมูล และระบุคำอธิบายเพิ่มเติมประกอบคำตอบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์ของหน่วยงาน โดยเป็นการประเมินระดับการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะของหน่วยงานเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในเว็บไซต์หลักของหน่วยงานได้ ใน 2 ตัวชี้วัด ซึ่งในปี 2566 มีการปรับเปลี่ยนและเพิ่มเติมหัวข้อตัวชี้วัดย่อย ได้แก่ ตัวชี้วัดการเปิดเผยข้อมูล ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัดย่อย ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน การบริหารงาน การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารเงินงบประมาณ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล และการส่งเสริมความโปร่งใส) และตัวชี้วัดการป้องกันการทุจริต ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัดย่อย ได้แก่ การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต และมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส ในปี 2566 มหาวิทยาลัยได้ประกาศมาตรการการงดให้หรือรับของขวัญ ของกำนัล หรือประโยชน์อื่นใด (No Gift Policy) จากการปฏิบัติหน้าที่ และแจ้งประมวลจริยธรรมของมหาวิทยาลัย
สำหรับการประเมิน ITA ในปี 2566 มีการปรับปรุงในรายละเอียดของระเบียบวิธีการประเมินและประเด็นการประเมินเล็กน้อย เพื่อแก้ไขปรับปรุงข้อจำกัดของการประเมินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การประเมิน ITA เป็นเครื่องมือให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการปรับปรุงแก้ไขระบบการบริหารราชการของหน่วยงานภาครัฐ และมีผลการประเมินที่มาจากมุมมองของประชาชนอย่างรอบด้านทั้งด้านการรับรู้และความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลสาธารณะได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยการประเมินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นไปภายใต้แนวคิด “Open to Transparency” ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญของการประเมิน ITA ที่มาจากการ “เปิด” 2 ประการ คือ “เปิดเผยข้อมูล” ของหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้สาธารณชนได้รับทราบและสามารถตรวจสอบการดำเนินงานได้ และ “เปิดโอกาส” ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงาน และประชาชนผู้รับบริการหรือติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐได้เข้ามามีส่วนร่วมประเมินหรือแสดงความเห็นต่อหน่วยงานภาครัฐผ่านการประเมิน ITA ซึ่งการ "เปิด" ทั้ง 2 ประการนี้ จะช่วยส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐมีความโปร่งใสและนำไปสู่การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบของทุกภาคส่วน
ทั้งนี้ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.kmutt.ac.th เมนู ข้อมูลสาธารณะ/ITA หน้า website ของมหาวิทยาลัย
ตอบ : ตามเป้าหมายของมหาวิทยาลัยที่ต้องการพัฒนาสมรรถนะองค์กรเพื่อให้บริการอย่างมีคุณภาพ มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการในทุกมิติสู่การเป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง มีความมั่นคงและยั่งยืน (High Performance Organization) บนหลักธรรมาภิบาล ซึ่งการเพิ่มผลิตภาพองค์กรและการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล เป็นหนึ่งกลยุทธ์สำคัญเพื่อขับเคลื่อนพัฒนาองค์กร โดยมหาวิทยาลัยกำหนดให้ทุกหน่วยงานโดยเฉพาะในสำนักงานอธิการบดีประกาศ SLA เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการทำงาน กำหนดไว้ 3 ขั้นตอน คือ
ดังนั้น การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานจึงมีความสำคัญ เป็นการสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานที่มุ่งไปสู่การบริหารคุณภาพขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และผลักดันให้บุคลากรได้แสดงวิธีการทำงาน ปรับปรุงกระบวนการทำงานตามบริบทที่เปลี่ยนไปของสังคม และสามารถนำมาถ่ายทอดให้กับผู้มาปฏิบัติงานใหม่ รวมถึงเผยแพร่ให้กับบุคคลภายนอก ผู้ใช้บริการ ให้สามารถเข้าใจ และใช้ประโยชน์จากคู่มือการปฏิบัติงานที่มีอยู่เพื่อขอรับการบริการที่ตรงกับความต้องการ และเกิดความพึงพอใจอย่างที่สุด ซึ่งคู่มือการปฏิบัติงานจะมีการเผยแพร่ไว้ในส่วนของข้อมูลการเปิดเผยสาธารณะ และ website ของหน่วยงานนั้นๆ โดยตรง
มหาวิทยาลัยมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ที่คอยเป็นพี่เลี้ยงในการให้คำแนะนำ ให้ความช่วยเหลือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนากระบวนงาน จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ ยังมีคณะทำงานปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (Productivity Improvement : PI) ที่คอยติดตามและให้คำแนะนำในการดำเนินงานอีกด้วย สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ คุณรัตนาภรณ์ แวเจะ เบอร์โทรศัพท์ 024708455 E-mail : rattanaporn.mad@kmutt.ac.th
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยได้ปรับปรุงและพัฒนางานประจำด้วยเครื่องมือ Daily Management (DM) ปรับปรุงขั้นตอนการทำงานประจำ ลด defect และประหยัดทรัพยากร สอดคล้องกับการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ มจธ. ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565-2569) มีหน่วยงานในสำนักงานอธิการบดีเป็นหน่วยงานนำร่อง และขยายผลการดำเนินงานสู่ระดับคณะ สำนัก สถาบัน การประสานงาน DM สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ผู้อำนวยการสำนักงานอำนวยการ เบอร์โทรศัพท์ 0 2470 8051 E-mail : Chantana.phu@kmutt.ac.th
ตอบ : บุคลากรของมหาวิทยาลัยต้องปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ระมัดระวังรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัย ห้ามอาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ของตน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมหาประโยชน์ให้แก่ตนหรือผู้อื่น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่บุคลากรพึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ มจธ. ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2550
ดังนั้น การที่บุคลากรนำทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว หรือนำไปให้กลุ่มพวกพ้องและถือเป็นการกระทำที่ไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบังคับฯ ที่กำหนด ถือเป็นความผิดทางวินัยได้
อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยได้ออกประกาศมหาวิทยาลัยฯ เรื่อง มาตรการและแนวปฏิบัติการใช้ทรัพย์สินของ มจธ. ส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการองค์กรด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ในส่วนของการบริหารจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วย การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 สามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.kmutt.ac.th เมนู ข้อมูลสาธารณะ/ITA/การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ หน้า website ของมหาวิทยาลัย
ตอบ : มหาวิทยาลัยดำเนินการตามแนวทางพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วย การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ซึ่งกฎหมายนี้จะกำหนดแนวทางการบริหารพัสดุ ในเรื่อง การเก็บ การบันทึก การเบิกจ่าย การยืม การบำรุงรักษา การตรวจสอบ การจำหน่ายพัสดุ มีทะเบียนคุมบัญชีวัสดุ เพื่อใช้ในการควบคุม ตรวจสอบ และมหาวิทยาลัยได้ออกประกาศมหาวิทยาลัยฯ เรื่อง มาตรการและแนวปฏิบัติการใช้ทรัพย์สินของ มจธ. ส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการองค์กรด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยเฉพาะในส่วนของการบริหารจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สิน สามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.kmutt.ac.th เมนู ข้อมูลสาธารณะ/ITA/การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ หน้า website ของมหาวิทยาลัย
ตัวอย่างของบัญชีวัสดุ สามารถค้นหาได้จาก website ของหน่วยงาน "สำนักงานจัดหาและจัดการสินทรัพย์" หรือโทร. 0 2470 8408
ตอบ : บุคลากร มจธ. นักศึกษา รวมถึงบุคคลภายนอก ประชาชนทั่วไป หากพบเห็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม หรือการกระทำที่เป็นการทุจริต สามารถส่งข้อมูลได้ที่ช่องทาง “รับเรื่องร้องเรียน รับฟังความคิดเห็น” ซึ่งปรากฏอยู่หน้า website : www.kmutt.ac.th ได้โดยตรง
ตอบ : มหาวิทยาลัยมีภารกิจในการ “พัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการเรียนรู้ พัฒนานักศึกษาให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ” การบริหารจัดการองค์กรตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี จึงยึดถือการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส มีคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นมืออาชีพ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับ ได้ตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ และการประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี จะก่อให้เกิดความเชื่อมั่นในศักยภาพ ประสิทธิภาพการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย
ดังนั้น บุคลากรของมหาวิทยาลัย จะต้องปฏิบัติงานด้วยความสามัคคี เกื้อกูลกัน ภายใต้กฎ ระเบียบ ตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งมหาวิทยาลัยได้กำหนดหลักปฏิบัติด้านจรรยาบรรณองค์กร (Code of Conduct) รวมถึงกำหนดข้อบังคับ ระเบียบ ว่าด้วย จรรยาบรรณของข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย และได้ประกาศนโยบายส่งเสริมความโปร่งใส มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยได้รับทราบถึงเจตนารมณ์ และความคาดหวังขององค์กร มีความรับผิดชอบ และสามารถนำไปเป็นกรอบในการบริหารจัดการและทำงานต่าง ๆ ตามภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ให้บุคลากรมีจิตสำนึก ทัศนคติ และค่านิยมที่ดี หลีกเลี่ยงการกระทำอันอาจมีผลต่อดุลยพินิจหรือการตัดสินใจในการปฏิบัติหน้าที่ มหาวิทยาลัยได้ประกาศมาตรการเพิ่มเติมในเรื่องมาตรการการงดให้หรือรับของขวัญ ของกำนัล หรือประโยชน์อื่นใด (No Gift Policy) ในการดำเนินงานและช่วงเทศกาลสำคัญ เป็นมาตรการเพื่อป้องกันการรับผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การเลือกปฏิบัติในสิ่งที่ไม่เหมาะสม เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน
ทั้งนี้ หลักปฏิบัติด้านจรรยาบรรณองค์กร ข้อกฎหมายเกี่ยวกับจรรยาบรรณ สามารถค้นหาได้ที่ www.kmutt.ac.th ไปที่เมนู “เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย” หัวข้อ “พ.ร.บ.มหาวิทยาลัย” และประกาศมาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต สามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.kmutt.ac.th เมนู ข้อมูลสาธารณะ/ITA/การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ หน้า website ของมหาวิทยาลัย
ตอบ : มหาวิทยาลัยมีกฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ที่กำหนดแนวทางการจัดการ และบทลงโทษ ต่อบุคคลที่กระทำการทุจริต หรือทำผิดจรรยาบรรณ มีคณะกรรมการตามกฎหมายที่กำหนดขึ้นเพื่อดำเนินการตรวจสอบ โดยกระบวนการและกลไกเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย และกฎหมายอื่นตามที่กำหนดไว้
ตอบ : สามารถดูข้อมูลมาตรการส่งเสริมความโปร่งใส การป้องกันการทุจริต มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจรรยาบรรณ ได้ที่ website : www.kmutt.ac.th ไปที่เมนู “เปิดเผยข้อมูลสาธารณะ” หรือ เมนู “ITA” ในส่วนของข้อกฎหมายเกี่ยวกับจรรยาบรรณ สามารถค้นหาได้ที่ www.kmutt.ac.th ไปที่เมนู “เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย” หัวข้อ “พ.ร.บ.มหาวิทยาลัย”
ตอบ : การจัดทำรายงานประจำปี (Annual report) จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลต่างๆ ที่เกิดขึ้นขององค์กรในรอบปีงบประมาณที่ผ่านมา รายงานประจำปีจะมีเรื่องเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน งบประมาณ และการใช้จ่าย เงินงบประมาณประจำปี รายนามผู้บริหารหรือบุคลากร มีข้อมูลเชิงสถิติเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในปีก่อนๆ จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอผลต่อคณะกรรมการบริหาร หน่วยงานต้นสังกัด และเปิดเผยต่อสาธารณชน และยังเป็นฐานข้อมูลของหน่วยงาน องค์กร ที่จะใช้ในการจัดทำแผนพัฒนาองค์กรให้ดียิ่งขึ้นในปีต่อไป
ตอบ : สามารถค้นหา ดูข้อมูลรายงานประจำปี ได้จากหน้าเพจ www.kmutt.ac.th ไปที่เมนู “เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย” click “รายงาน/เอกสารเผยแพร่” หรือ website ของหน่วยงาน "สำนักงานยุทธศาสตร์ มจธ."
ตอบ : นโยบาย แผนการดำเนินงาน แผนการบริหารงาน นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล มาตรการส่งเสริมความโปร่งใส การป้องกันการทุจริต การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสประจำปี คู่มือการปฏิบัติงาน การจัดซื้อจัดจ้าง สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นข้อมูลสาธารณะ สามารถเปิดเผยให้กับบุคคลทั่วไปรับทราบได้ ตามแนวทางของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) หากท่านต้องการค้นหาเพื่อศึกษา หรือดูข้อมูล สามารถค้นหาได้ที่ website : www.kmutt.ac.th ไปที่เมนู “เปิดเผยข้อมูลสาธารณะ” หรือเข้าไปที่เมนูช่องทาง “ITA” นอกจากนี้ ยังสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก website ของหน่วยงานนั้นๆ โดยตรงได้ เช่น นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล ไปที่ website ของหน่วยงาน "สำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล" การจัดซื้อจัดจ้าง ไปที่ website ของหน่วยงาน "สำนักงานจัดหาและจัดการสินทรัพย์" เป็นต้น
ตอบ : มหาวิทยาลัย ได้จัดทำข้อบังคับมหาวิทยาลัย ว่าด้วย ประมวลจริยธรรมของมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2565 ได้ประกาศใช้แล้วตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2565 สามารถดูรายละเอียดข้อมูลได้ที่ website ของมหาวิทยาลัย เมนู “พรบ./ข้อบังคับ/จรรยาบรรณ” หรือเมนู “การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ/ITA” หน้า website ของมหาวิทยาลัย